ลำตัวกลมแบนมีสีแดงเข้มหรือน้าตาลเกือบดำ ขนบนลาตัวด้านหลังสั้นคล้ายกระบองหรือไม้พายขนที่ส่วนท้องเป็นเส้นเล็กๆ ปลายเรียวแหลม
ลักษณะการทำลาย
ไรแดงทุเรียนดูดกินน้าเลี้ยงอยู่บริเวณผิวใบทุเรียน ทาให้เกิดเป็นจุดปะ สีขาวกระจายอยู่ทั่วบนใบ ต่อมาจุดปะสีขาวจะแผ่ขยายออกไปเป็นบริเวณกว้าง จนใบมีอาการขาวซีดและมีคราบสีขาวเกาะติดเป็นผลขาวๆ คล้ายฝุ่นจับ ถ้าหากมีไรแดงทาลายเป็นปริมาณมากและต่อเนื่องจะทาให้ใบร่วงและมีผลกระทบต่อการออกดอกและติดผลของทุเรียน ต้นทุเรียนจะเกิดความเสียหายจากไรแดงเมื่อใบแก่ถูกทาลายมากกว่าร้อยละ 25 ของใบที่สำรวจ
การป้องกันและกำจัด
1. กำจัดวัชพืชในสวนทุเรียน ซึ่งอาจจะเป็นแหล่งหลบซ่อนของไรแดงแอฟริกัน
2. ใช้ระบบน้าเหวี่ยงหรือเครื่องฉีดพ่นน้า 1 – 2 ชั่วโมงต่อวัน ให้ใบทุเรียนเปียกโชกทั่วทรงพุ่มเพื่อลดปริมาณไรแดง
3. ใช้สารเคมีที่มีประสิทธิภาพในการใช้ควบคุมปริมาณไรแดงแอฟริกันในสวนทุเรียน
4. ใช้สารชีวภัณฑ์ เมธาไรเซียมผสมบิวเวอร์เรีย เพื่อกำจัดและควบคุมปริมาณไรแดง