You are currently viewing โรคใบจุด ขอบใบไหม้ในทุเรียน

โรคใบจุด ขอบใบไหม้ในทุเรียน

โรคใบไหม้ ใบติดในทุเรียน คือ โรคที่เกิดจากเชื้อรา Phomopsis sp. โดยเชื้อจะเข้าทำลายที่ปลายใบและขอบใบไม้ จุดที่เกิดโรคจะมีเนื้อใบไม้ที่แห้งเป็นสีน้ำตาลแดงก่อนและต่อมาเปลี่ยนเป็นสี ขาวอมเทา และเมื่อเชื้อเจริญเติบโตจะทำความเสียหายกับใบทุเรียน โรคใบไหม้ แพร่ระบาดไปโดย ลม ฝน และ เนื้อเยื่อใบที่แห้ง

การแพร่ระบาดของโรค

ส่วนขยายพันธุ์ที่ถูกสร้างขึ้นมาจะแพร่ระบาดไปโดยลม และ ฝน และ จากเนื้อเยื่อใบที่แห้งและหล่นตกค้างอยู่มี่ใต้โคนต้น เชื้อสามารถเข้าทำลายได้ทั้งใบอ่อนและใบแก่

แนวทางการจัดการโรคใบจุด ขอบใบไหม้

  • เมื่อพบการระบาดของโรค ควรตัดแต่งกิ่งที่ป็นโรค เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุในแปลงปลูก แล้วพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพ
  • กำจัดเศษซากของต้นทุเรียน ที่ตัดแต่งกิ่งออกจากแปลงปลูกให้หมด อย่าปล่อยทิ้งไว้ จะกลายเป็นแหล่งสะสมโรคและแหล่งแพร่กระจายโรค ในช่วงที่สภาพแวดล้อมเหมาะสมเช่นอากาศแล้งจัดๆ เศษซากพืชที่เป็นโรคเหล่านี้จะเป็นแหล่ง พักตัวของเชื้อสาเหตุโรคต่างๆ
  • ใช้ กัปตันไตรโค อัตราส่วน 25 กรัม หรือ 2 ช้อนโต๊ะ/ น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นหลัง 16.00 น. หรือช่วงแดดอ่อน ทุก 3-7 วันช่วงระบาด และทุก 7-10 วันสำหรับป้องกัน