เชื้อ “ไฟทอปธอรา” โดยทั่วไปจะเข้าทำลายต้นทุเรียนทางราก หรือโคนต้นระดับดิน เชื้อจะเข้าสู่ระบบท่อน้ำของลำต้น เมื่อเชื้อโรคเจริญเติบโต ก็จะแพร่กระจายไปทั่วต้น อาการของโรค ก็จะเห็นแผลเน่าบนเปลือกของลำต้น ที่เราเรียกกันว่า “โคนเน่า” แต่อาการที่พบโดยทั่วในสวนทุเรียน เรามักเห็นอาการแผลอยู่บนลำต้น มากกว่าที่โคนต้น
ทุเรียนที่ถูกเชื้อไปทอปธอราเข้าทำลาย จะทรุดโทรมไปเรื่อยๆ ผลผลิตลดลง หรือผลทุเรียนไม่สมบรูณ์และยืนต้นตาย ในที่สุด โรคไฟทอปธอรา จึงเป็นโรคเรื้อรังในต้นทุเรียน
การรักษาและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา ไฟทอปธอร่าได้อย่างยั่งยืน คือการใช้เชื้อรา ไตรโคเดอร์มา ซึ่งเป็นเชื้อราดีที่จะกินเชื้อรา ไฟทอปธอร่า และเชื้อราร้ายชนิดอื่น การเลี้ยงเชื้อ ไตรโคเดอร์มา ในสวนนอกจากกำจัด และป้องกันเชื้อราแล้ว ยังสามารถช่วยละลายฟอสเฟต และย่อยอินทรีย์วัตถุให้กลับมาเป็นปุ๋ยอีก และช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับต้นทุเรียนด้วยคะ
สำหรับ ไตรโคเดอร์มา ที่คุณภาพดี ได้มาตราฐาน แนะนำใช้ กัปตัน ไตรโค นะคะ